รวมทิปแก้ปัญหาปริ้นเตอร์
งานพิมพ์มีรอยขีดเล็กๆ เป็นระยะๆ
หากคุณสั่งพิมพ์เอกสารออกมาแล้วพบว่ามีรอยขีดเส้นเล็กๆ อยู่ที่ขอบกระดาษด้านใดด้านหนึ่งเป็นระยะๆ ละก็ ให้สันนิษฐานก่อนว่าสาเหตุมาจาก Roller หลักที่อยู่บนเส้นทางเดินกระดาษมีคราบสกปรก ถ้าตรวจแล้วไม่พบให้ลองตรวจสอบที่ตลับโทนเนอร์ว่ามีการชำรุดหรือไม่? บ่อยครั้งที่พื้นผิวของดรัมในโทนเนอร์มีรอยเล็กๆ ทำให้เวลาพิมพ์เอกสารร่องรอยตำหนินั้นจึงติดลงบนกระดาษด้วย อย่าลืมตรวจสอบชนิดของกระดาษที่คุณใช้ด้วยเช่นกัน
ตัวหนังสือที่หายไปบนผืนกระดาษ
ปัญหานี้พบได้บ่อยๆ ครับ งานพิมพ์ที่มีตัวหนังสือหายไปเป็นช่วงๆ หรือฟอนต์ช่วงล่างขาดหายไปเป็นระยะๆ ข้อสันนิษฐานแรกให้มุ่งเป้าไปที่ผงหมึกในตลับอาจกำลังจะหมด หน้าสัมผัสของชุดลำเรียงกระดาษอาจมีคราบสกปรก รวมทั้งตลับโทนเนอร์เองอาจมีเศษผงหมึกเป็นคราบเลอะอยู่ อย่าลืมเช็กดูที่ Printer Properties ว่าคุณไม่ได้อยู่ในโหมดการพิมพ์แบบ Eco Mode ด้วย
สั่งพิมพ์ได้แต่ดันกลายเป็นเส้นๆ
เคยเห็นงานพิมพ์ที่มีแต่เส้นยาวๆ เป็นระยะๆ บนหน้ากระดาษบ้างไหมครับ ถ้าเคยละก็ ตลับหมึกของคุณใกล้หมดแล้ว นอกจากนี้สาเหตุอาจมาจากองค์ประกอบทางฮาร์ดแวร์ด้วย เช่น พื้นผิวของดรัมชำรุดหรือมีสิ่งสกปรก ชุด Fuser Film มีคราบหรือมีอะไรไปติดอยู่ รวมไปถึงมีสิ่งบดบังกระจกสะท้อนแสงในชุด Scanner ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องการทำความสะอาดโดยด่วนครับ
มีจุดไข่ปลาที่ขอบกระดาษด้านบนและล่าง
งานพิมพ์โอเค ตัวหนังสือไม่หลุด กระดาษไม่เลอะเศษหมึก แต่บริเวณด้านบนและด้านล่างดันมีจุดไข่ปลาเกิดขึ้นซะนี่ สาเหตุของปัญหาที่ว่านี้มาจากองค์ประกอบของฮาร์ดแวร์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นตัว Transfer Roller ขัดข้องหรือชำรุด แผงวงจร Formatter PCA เกิดความบกพร่อง ซึ่งอาจรวมไปถึงแผงควบคุมการจ่ายไฟ DC มีปัญหาเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ตรงนี้คงต้องส่งศูนย์ซ่อมอย่างเดียวแล้วละครับ
มีเส้นทับตัวหนังสือตลอดทั้งแนว
ปัญหานี้เชื่อว่าหลายคนคงเคยเจอมารบ้าง นั่นคืองานพิมพ์มีเส้นยาวๆ ทับตัวหนังสือตลอดทั้งแนว และบางทีก็ทับตัวหนังสือทุกบรรทัดด้วย สาเหตุให้มุ่งเป้าไปที่ความสกปรกเป็นหลักครับ ตรวจสอบ Roller หลักที่เป็นตัวป้อนกระดาษและตัวที่อยู่ในเส้นทางเดินกระดาษว่ามีคราบสกปรกอยู่หรือไม่? หรือมีรอยขีดข่วนบนพื้นผิวด้วยหรือไม่ และอย่าลืมสำรวจตลับโทนเนอร์ด้วยว่าถูกติดตั้งอย่างถูกต้องหรือลงล็อกดีแล้วหรือยัง?
งานพิมพ์สีซีดจางผิดปกติ
ถ้าบังเอิญคุณสั่งพิมพ์เอกสารออกมาแล้วเห็นว่าสีซีดจากผิดปกติละก็ อันดับแรกตรวจสอบดูว่าคุณตั้งค่าการพิมพ์ในโหมดประหยัดหรือไม่ บางทีอาจมีใครไปปรับเล่น อย่างที่สองตลับหมึกใกล้หมดแล้วหรือยัง ตรงนี้อาจจะเป็นสาเหตุหลักก็ได้ครับ และอย่างที่สามตรวจสอบดรัมว่ามีอะไรไปติดขัดหรือไม่ เพราะถ้าระบบไม่ดูดผงหมึกออกจากดรัมหรือดูดอกไม่ได้ ก็ทำให้งานพิมพ์ออกมามีสีซีดจางแน่ๆ
วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
เรียนลัดคำสั่ง Dos ที่จำเป็นสำหรับการซ่อมคอม
เรียนลัดคำสั่ง Dos ที่จำเป็นสำหรับการซ่อมคอม
ความจำเป็นในการใช้ (Dos) ยังคงมีอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันบทบาทของมันจะเริ่มลดลงไปมากหลังจาก Windows เริ่มมีความสมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ชนิดที่ไม่ต้องพึ่งดอสเลย แต่ถ้าเมื่อไรเครื่องของคุณยังไม่มี Windows หรือเข้าไปใช้งาน Windows ไม่ได้ คำสั่งดอสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้คำสั่งดอสจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เช่นการ การซ่อมแซมไฟล์ที่เสีย ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล แก้ปัญหา Bad Sector ฯลฯ ดังนี้เราควรทราบคำสั่งบางคำสั่งที่จำเป็นไว้บ้างเพื่อนำไปใช้งานในยามฉุกเฉิน Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นแรก ๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฎิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows ลองมาดูกันว่าคำสั่งไหนบ้างที่เราควรรู้จักวิธีใช้งาน CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่ CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส เช่น ถ้าต้องการรัน คำสั่งเกมส์ที่เล่นในโหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรีดังกล่าวเสี่ยก่อนจึงจะรันคำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ได้ รูปแบบคำสั่ง CD [drive :] [path] CD[..] เมื่อเข้าไปในไดเร็คทอรีใดก็ตาม แล้วต้องการออกจากไดเร็คทอรีนั้น ก็เพียงใช้คำสั่ง CD\ เท่านั้นแต่ถ้าเข้าไปในไดเร็คทอรีย่อยหลาย ๆ ไดเร็คทอรี ถ้าต้องการออกมาที่ไดรว์ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ให้ใช้คำสั่ง CD\ เพราะคำสั่ง CD.. จะเป็นการออกจากไดเร็คทอรีได้เพียงลำดับเดียวเท่านั้น ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
CD\
กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\>docs\data> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ C:\ >
CD..
กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\windows\command> หลังจากนั้น ใช้คำสั่งนี้ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่ C:\windows> CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์ CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ การรายงานผลของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็คทอรี และ FAT ของดิสก์ หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster จะยังไม่แก้ไขใด ๆ นอกจากจะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost Cluster ให้เป็นไฟล์ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อันต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานปัญหาที่ตรวจพบได้อีก อย่างเช่น จำนวน Bad Sector , Cross-ling Cluster (หมายถึง Cluster ที่มีไฟล์มากกว่าหนึ่งไฟล์แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ข้อมูลใน Cluster จะเป็นของไฟล์ได้เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น) รูปแบบคำสั่ง CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V] [drive:][path] กำหนดไดรว์ และไดเร็ทอรีที่ต้องการตรวบสอบ filename ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ตรวจสอบ /F สั่งให้ Fixes Errors ทันทีที่ตรวจพบ /V ขณะที่กำลังตรวจสอบ ให้แสดงชื่อไฟล์และตำแหน่งของดิสก์บนหน้าจอด้วย ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\WINDOWS>CHKDSK D:
ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์ D
C:\>CHKDSK C: /F
ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์ Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ จากไดเร็คทอรีหนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows มีปัญหา รูปแบบคำสั่ง COPY [Source] [Destination] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\COPY A:README.TXT
คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C
C:\COPY README.TXT A:
คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ C ไปยังไดรว์ A
C:\INFO\COPY A:*.*
คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
A:\COPY *.* C:INFO
คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C DIR คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี คำสั่งนี้ถือเป็นคำสั่งพื้นฐานที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อจะได้รู้ว่าในไดรว์หรือไดเร็คทอรีนั้น ๆ มีไฟล์หรือไดเร็คทอรีอะไรอยู่บ้าง รูปแบบคำสั่ง DIR /P /W /P แสดงผลทีละหน้า/W แสดงในแนวนอนของจอภาพตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>DIR
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C
C:\>DIR /W
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C ในแนวนอน
C:\>INFO\DIR /P
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีย่อยในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละหน้า
C:\>INFO\DIR *.TEX
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเร็คทอรี INFO เฉพาะที่มีนามสกุล TXT เท่านั้น
C:\> DIR BO?.DOC
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ในไดรว์ C ที่ขึ้นต้นด้วย BO และมีนามสกุล DOC ในตำแหน่ง ? จะเป็นอะไรก็ได้
ความจำเป็นในการใช้ (Dos) ยังคงมีอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันบทบาทของมันจะเริ่มลดลงไปมากหลังจาก Windows เริ่มมีความสมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ชนิดที่ไม่ต้องพึ่งดอสเลย แต่ถ้าเมื่อไรเครื่องของคุณยังไม่มี Windows หรือเข้าไปใช้งาน Windows ไม่ได้ คำสั่งดอสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการใช้คำสั่งดอสจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เช่นการ การซ่อมแซมไฟล์ที่เสีย ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล แก้ปัญหา Bad Sector ฯลฯ ดังนี้เราควรทราบคำสั่งบางคำสั่งที่จำเป็นไว้บ้างเพื่อนำไปใช้งานในยามฉุกเฉิน Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฎิบัติการรุ่นแรก ๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฎิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows ลองมาดูกันว่าคำสั่งไหนบ้างที่เราควรรู้จักวิธีใช้งาน CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่ CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส เช่น ถ้าต้องการรัน คำสั่งเกมส์ที่เล่นในโหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรีดังกล่าวเสี่ยก่อนจึงจะรันคำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ได้ รูปแบบคำสั่ง CD [drive :] [path] CD[..] เมื่อเข้าไปในไดเร็คทอรีใดก็ตาม แล้วต้องการออกจากไดเร็คทอรีนั้น ก็เพียงใช้คำสั่ง CD\ เท่านั้นแต่ถ้าเข้าไปในไดเร็คทอรีย่อยหลาย ๆ ไดเร็คทอรี ถ้าต้องการออกมาที่ไดรว์ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ให้ใช้คำสั่ง CD\ เพราะคำสั่ง CD.. จะเป็นการออกจากไดเร็คทอรีได้เพียงลำดับเดียวเท่านั้น ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
CD\
กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\>docs\data> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะย้อนกลับไปที่ C:\ >
CD..
กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เช่น ถ้าเดิมอยู่ที่ C:\windows\command> หลังจากนั้น ใช้คำสั่งนี้ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่ C:\windows> CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์ CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ การรายงานผลของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็คทอรี และ FAT ของดิสก์ หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster จะยังไม่แก้ไขใด ๆ นอกจากจะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost Cluster ให้เป็นไฟล์ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อันต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยังสามารถรายงานปัญหาที่ตรวจพบได้อีก อย่างเช่น จำนวน Bad Sector , Cross-ling Cluster (หมายถึง Cluster ที่มีไฟล์มากกว่าหนึ่งไฟล์แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ข้อมูลใน Cluster จะเป็นของไฟล์ได้เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น) รูปแบบคำสั่ง CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V] [drive:][path] กำหนดไดรว์ และไดเร็ทอรีที่ต้องการตรวบสอบ filename ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ตรวจสอบ /F สั่งให้ Fixes Errors ทันทีที่ตรวจพบ /V ขณะที่กำลังตรวจสอบ ให้แสดงชื่อไฟล์และตำแหน่งของดิสก์บนหน้าจอด้วย ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\WINDOWS>CHKDSK D:
ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานดิสก์ในไดรว์ D
C:\>CHKDSK C: /F
ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์ Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ จากไดเร็คทอรีหนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows มีปัญหา รูปแบบคำสั่ง COPY [Source] [Destination] ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\COPY A:README.TXT
คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ A ไปยังไดรว์ C
C:\COPY README.TXT A:
คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จากไดรว์ C ไปยังไดรว์ A
C:\INFO\COPY A:*.*
คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
A:\COPY *.* C:INFO
คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยังไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C DIR คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี คำสั่งนี้ถือเป็นคำสั่งพื้นฐานที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อจะได้รู้ว่าในไดรว์หรือไดเร็คทอรีนั้น ๆ มีไฟล์หรือไดเร็คทอรีอะไรอยู่บ้าง รูปแบบคำสั่ง DIR /P /W /P แสดงผลทีละหน้า/W แสดงในแนวนอนของจอภาพตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>DIR
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C
C:\>DIR /W
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีทั้งหมดในไดรว์ C ในแนวนอน
C:\>INFO\DIR /P
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีย่อยในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละหน้า
C:\>INFO\DIR *.TEX
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเร็คทอรี INFO เฉพาะที่มีนามสกุล TXT เท่านั้น
C:\> DIR BO?.DOC
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ในไดรว์ C ที่ขึ้นต้นด้วย BO และมีนามสกุล DOC ในตำแหน่ง ? จะเป็นอะไรก็ได้
แผนผังกระบวนการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์
หมดปัญญาซ่อมเองทำอย่างไร ? ปัญหาหรืออาการเสียหลายอย่างจำเป็นจะต้องใช้ทักษะในการตรวจซ่อมสูง ซึ่งต้องอาศัยช่างที่มีความเชี่ยวชาญหรือชำนาญเป็นพิเศษ แต่ถ้าคุณไม่มีก็อย่าเสี่ยงซ่อมเอง เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น ทางที่ดีส่งซ่อมดีกว่า เช่น งานบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค เปลี่ยนแผ่นวงจรบนฮาร์ดดิสก์ ซ่อมเมนบอร์ด หลดภาพของจอมอนิเตอร์เสื่อม เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้แนะนำให้ส่งซ่อมดีกว่า หรือถ้าอุปกรณ์ ยังอยู่ในประกันก็ส่งเคลมดีที่สุด
ข้อมูลจากหนังสือ ซ่อมคอมอย่างเซียนพันธ์ทิพย์
ข้อมูลจากหนังสือ ซ่อมคอมอย่างเซียนพันธ์ทิพย์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)